ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GNSS)

สรข. 4 ภูเก็ต จัดกิจกรรม KM Day เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GNSS)”

GNSS ย่อมาจาก Global Navigation Satellites System คือ ระบบเครือข่ายดาวเทียมนำทางที่โคจรรอบโลกซึ่งให้บริการสำหรับระบุตำแหน่งหรือค่าพิกัดบนพื้นผิวโลก ด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวรับสัญญาณคลื่นวิทยุจากดาวเทียมที่ส่งมาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง

อุปกรณ์หลักในการใช้งาน

  1. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GNSS) จำนวน 2 ชุด
  • ตั้งเป็น Base Station
  • ตั้งเป็น Rover Staion
  1. ขาตั้งกล้อง จำนวน 2 ชุด (ในการใช้งาน Static Survey)
  2. Pole ของ Rover Staion จำนวน 1 ชุด (ในการใช้งาน RTK)
  3. ตลับเมตร จำนวน 1 อัน

 

การรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GNSS)

  1. การรังวัดแบบสถิต (Static Survey) คือ การรังวัดโดยใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GNSS) ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปตั้งรับสัญญาณอยู่กับที่ โดยนำไปวางที่หมุดทราบค่าพิกัด 1 จุด เป็น Base Station และนำไปวางในจุดที่เราต้องการทราบพิกัด เป็น Rover Station จากนั้นตั้งรับสัญญาณข้อมูลจากดาวเทียมชุดเดียวกัน อย่างน้อย 4 ดวง และนำมาประมวลผลด้วยซอร์ฟแวร์ภายหลัง ค่าความถูกต้องที่ได้รับ 5 มม. – 2.5 ซม.
  2. การรังวัดแบบจลน์ (Real Time Kenetics : RTK) คือ เป็นการรังวัดที่สามารถทราบค่าพิกัดได้ทันที โดยการนำเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมไปตั้งที่หมุดที่ทราบค่าพิกัดเป็น Base Station จากนั้น Base Station ส่งสัญญาณวิทยุไปยังตัว Rover Station เพื่อเก็บค่าพิกัดจุดต่างที่ต้องการและสามารถประมวลผลทราบค่าได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการประมวลผลด้วยซอร์ฟแวร์ ค่าความถูกต้องที่ได้รับ 1 ซม. – 2.5 ซม.

 

 

 

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published.