Knowledge Management : KM สำนักงานเลขานุการกรม (สล.) ปี พ.ศ. 2567

องค์ความรู้

การจ้างเหมาบริการรายบุคคล

การจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคล หมายถึง การจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคลเพื่อ ดำเนินงานให้กับ กพร. ในลักษณะการจ้างทำของตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ไม่ใช่ลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ และการจ้างแรงงานตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

การดำเนินการจ้าง ให้หน่วยงานที่ได้รับอนุมัติกรอบอัตรากำลังและงบประมาณสำหรับการจ้างเหมาบริการ รายบุคคลดำเนินการโดยวิธีการเฉพาะเจาะจง ตามมาตรา ๕๖ (2) (ข) จัดหาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อ                จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖o ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และจัดทำข้อตกลงจ้าง หรือสัญญาจ้าง                  ตามที่ กพร. กำหนด

การจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคลเป็นการจ้างบุคคลธรรมดาโดยมุ่งผลสำเร็จของงาน ที่ว่าจ้างภายในระยะเวลากำหนดเป็นลักษณะสำคัญตามข้อตกลงจ้างเหมาบริการเท่านั้น หน่วยงานหรือ ส่วนราชการ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการในการทำงานนอกเหนือจากข้อตกลง แต่มีอำนาจตรวจผลงาน    และสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขได้เมื่องานผิดพลาดขาดตกบกพร่อง

พนักงานจ้างเหมาบริการมีฐานะเป็นผู้รับจ้างทำของตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และ                    การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖o ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ สวัสดิการที่พึงได้                 จากทางราชการเช่นเดียวกับข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ เป็นเพียงผู้รับจ้างทำของ จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับรัฐในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓                และที่แก้ไขเพิ่มเติม หน่วยงานหรือส่วนราชการผู้ว่าจ้างจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของ ผู้ว่าจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม อย่างไรก็ดี หากลูกจ้างเหมาบริการประสงค์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ของ ผู้ประกันตนก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้เองตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม            พ.ศ. ๒๕๓๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564

– กฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อ จัดจ้าง            ที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560

การดำเนินการจ้าง

วิธีการจัดจ้าง กรณีเป็นการจัดจ้างเหมาบริการที่มีวงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต่อราย ถือเป็นวงเงินจัดจ้าง ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงจึงสามารถดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้ตามมาตรา 56 วรรค (2) (ข) ให้เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงราคากับผู้มีอาชีพรับจ้างนั้นโดยตรง

ระยะเวลาการจ้าง กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีงบประมาณ โดยแบ่งการจ่ายค่าจ้างเป็นงวดๆ ละ      1 เดือน โดยให้ผู้ว่าจ้างจัดทำข้อตกลงจ้าง หรือสัญญาจ้างแล้วแต่กรณี

การจ่ายค่าจ้าง เมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ตรวจรับงานจ้างเรียบร้อยแล้ว ให้เบิกจ่ายค่าจ้าง   เป็นงวด งวดละ ๑ เดือน หากมีการปฏิบัติงานไม่เต็มเดือน ให้คิดค่าจ้างเป็นรายวันเฉพาะวันทำการ                ที่ปฏิบัติงาน โดยคำนวณค่าจ้างจากการนำค่าจ้างต่อเดือนหารด้วยจำนวนวันทำการทั้งหมดของเดือนนั้น            คูณด้วยวันที่ ปฏิบัติงานจริง เช่น (ค่าจ้าง = ค่าจ้างต่อเดือน (9,000 บาท) x วันทำงาน วันทำการของเดือนนั้น)

ข้อสังเกตการจ่ายค่าจ้าง

(1) กรณีเดือนสุดท้ายที่มีการปฏิบัติงานไม่เต็มเดือนปฏิทิน หมายถึง กรณีที่ผู้รับจ้างบอกเลิก สัญญาก่อนสิ้นสุดสัญญา ไม่รวมกรณีที่วันสิ้นสุดของสัญญาตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดอื่น ๆ

(2) กรณีเดือนแรกที่ปฏิบัติงานไม่เต็มเดือน หมายถึง วันเริ่มต้นการจ้างในสัญญาไม่ได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑ ของเดือน การนับจำนวนให้นับเฉพาะวันทำการเท่านั้น ไม่รวมวันหยุดประจำสัปดาห์วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดอื่น ๆ

ในการปฏิบัติงานแต่ละวัน ให้มีหลักฐานการลงลายมือชื่อในใบลงเวลา ทำงาน และมีเจ้าหน้าที่                ผู้ควบคุมลงนามกำกับ

ห้ามมิให้ลูกจ้างเหมาบริการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความลับของทางราชการ ซึ่งหากมีการเผยแพร่ข้อมูลจะเกิดความเสียหาย หรืองานที่มีลักษณะของการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชน

ผู้ว่าจ้างมีสิทธิตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามที่ระบุในหนังสือตกลงจ้าง โดยมีสิทธิ สั่งการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่จ้างนี้ได้ และลูกจ้างเหมาบริการต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้นทุกประการ

การลา ไม่มีการลาหยุดตามระเบียบว่าด้วยการลาสำหรับข้าราชการหรือลูกจ้าง ซึ่ง กพร. กำหนดให้ลูกจ้างเหมาบริการที่ไม่มาปฏิบัติงานในวันใดจะไม่ได้รับค่าจ้าง

การปรับ ในกรณีที่ลูกจ้างเหมาบริการไม่มาทำงานที่จ้างตามสัญญาโดยไม่แจ้งลา และการไม่แจ้งลานั้น ไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างเหมารายเดือนของเดือนนั้น ๆ เป็นรายวันในอัตราวันละ        ร้อยละ 0.10 ของราคาค่าจ้างตามสัญญานั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท นับแต่วันที่ไม่มาปฏิบัติงานจนถึงวันที่มาปฏิบัติงานตามสัญญา ทั้งนี้ ให้เป็นดุลพินิจของผู้ว่าจ้างในการปรับ หรืองดเว้นค่าปรับ                 ตามระเบียบฯ

การสิ้นสุด…

 การสิ้นสุดสัญญาจ้าง ลูกจ้างเหมาบริการที่ประสงค์จะลาออกก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือตกลงจ้าง จะต้องยื่น หนังสือลาออกจากการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน                เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษ ผู้ว่าจ้างจะอนุญาตให้ยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วันก็ได้

พนักงานจ้างเหมาบริการอาจถูกเลิกจ้างได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

(1) สิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือตกลงจ้าง

(2) ลาออก

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published.