Knowledge Management : KM กองวิศวกรรมบริการ (กวบ.) ปี พ.ศ. 2567

เรื่อง “เทคโนโลยีงานรังวัดกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่”

องค์ความรู้

ปัจจุบันเทคโนโลยีรังวัดสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน
ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงในพื้นที่อันตราย ช่วยลดต้นทุน ในการตรวจสอบและกำกับดูแลเหมืองแร่ เทคโนโลยีที่กองวิศวกรรมบริการ ได้นำมาใช้ในการสนับสนุนภารกิจด้านงานรังวัด ได้แก่

กล้องรังวัดชนิดหาทิศเหนือด้วยตนเอง (Gyrotheodolite)

คุณลักษณะพิเศษ

                   เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินการรังวัดในอุโมงค์ หรือเหมืองใต้ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องทำงานเป็นระยะไกล ไม่สามารถทำการรังวัดเพื่อปิดวงรอบได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และไม่สามารถหาตำแหน่งควบคุมระหว่างการรังวัดได้ โดยเครื่องมือดังกล่าว จะสามารถหาทิศระยะเทียบกับทิศเหนือแม่เหล็กได้อย่างแม่นยำในระหว่างดำเนินการรังวัด

                    การใช้งานในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ใต้ดิน

                       – เหมาะสำหรับการทำงานรังวัดที่ไม่สามารถสร้างคู่หมุดออกงานได้

                       – งานรังวัดต้องทำวงรอบที่มีระยะไกลและไม่สามารถทำการรังวัดบรรจบ
เพื่อตรวจสอบค่าความถูกต้องได้ เช่นการทำงานรังวัดในเหมืองใต้ดิน หรือในพื้นที่อาคารขนาดใหญ่          

– ช่วยให้ความถูกต้องเชิงตำแหน่งของการรังวัดวงรอบแบบเปิดสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 3 เท่า

เครื่องสแกนภูมิประเทศ 3 มิติ (Terrestrial laser Scanner)

คุณลักษณะพิเศษ

                       – ความถูกต้องสูง การทำงานคล้ายงานรังวัดภาคสนามด้วยกล้อง Total Station

                       – ยิงเลเซอร์สำหรับวัดระยะออกมารอบตัว ระยะทำการ 100 เมตรถึง 4 กิโลเมตร

                       – ข้อมูลที่ได้เป็นจุด point cloud ที่มีความละเอียดสูง สามารถทะลุพุ่มไม้ได้

                       – สามารถทำการรังวัดทั้งพื้นที่กลางแจ้งและพื้นที่ปิดเช่นภายในอาคารและอุโมงค์ได้

การประยุกต์ใช้งานในงานรังวัดเหมืองแร่

                       – ทำงานในพื้นที่ที่ไม่สามารถบินโดรนได้

                       – จำแนกข้อมูลเพื่อให้ได้ภูมิประเทศที่แท้จริง          

– สามารถรังวัดพื้นที่ปิดหรือเหมืองใต้ดิน

เครื่องรังวัดภูมิประเทศใต้น้ำติดพาหนะขับเคลื่อนจากภายนอก (Unmanned Surface Vehicle : USV)

คุณลักษณะพิเศษ

                   การทำงานติดตั้งเครื่องหยั่งความลึกของน้ำแบบกวาดหลายตำแหน่ง (Multibeam Echosounder) เข้ากับเรือขนาดเล็กควบคุมจากภายนอก (Unmanned Surface Vehicle-USV) โดยป้อนคำสั่งให้ทำงานแบบอัตโนมัติตามพื้นที่ที่ต้องการทำแผนที่ใต้น้ำ

                    ขั้นตอนการรังวัดภูมิประเทศใต้น้ำ

                       – ตรวจสอบพื้นที่หน้างาน วางแผนการสำรวจทำแผนที่ภูมิประเทศใต้น้ำ เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของเรือ (USV)

                       – ป้อนคำสั่งและเส้นทางการเดินทางไปยังเรือ (USV) โดยระหว่างการทำงาน อุปกรณ์ Echosounder จะทำการส่งคลื่นเสียงเพื่อวัดความลึกของพื้นใต้น้ำตามเส้นทางการเดินเรือ           – ข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศใต้น้ำที่ได้ จะสามารถนำมาคำนวณปริมาตรน้ำที่มีอยู่ในขุมเหมือง และเมื่อนำข้อมูลมารวมกับข้อมูลภูมิประเทศด้านบนที่รังวัดจากอากาศยานไร้คนขับ ก็จะทำให้ทราบถึงศักยภาพในการกักเก็บน้ำในแต่ละพื้นที่ได้

อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV)

การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโดรนเพื่อการสำรวจและการวางแผนการทำเหมือง

                       – การใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดสเปคตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อวิเคราะห์พืชพรรณ ชนิดหิน และแหล่งแร่

                       – การออกแบบถนน ระบบระบายน้ำและจัดการน้ำ

                       – การตรวจสอบขอบเขตและสภาพพื้นที่ ข้อมูลรอยแตก และการเปลี่ยนแปลงของหน้างาน

                    การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโดรนเพื่อการควบคุมเสถียรภาพบ่อเหมือง

                       – การเก็บข้อมูลโครงสร้างหินเพื่อวิเคราะห์เสถียรภาพ

                       – การตรวจสอบพื้นผิวหน้างาน

                    การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโดรนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจาะระเบิด

                       – ภาพก่อนการเจาะใช้อ้างอิง ตรวจสอบสภาพหน้างาน

                       – ภาพก่อนการอัดระเบิด ใช้ตรวจสอบตำแหน่งรูเจาะระเบิดและประเมินปริมาณหิน

                       – ภาพและวีดิโอขณะทำการระเบิด หรือใช้ตรวจสอบการแตกตัวและการเคลื่อนไหวของหิน

                       – ภาพหลังการระเบิด ใช้วิเคราะห์การกระจายขนาดหิน

                    การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโดรนเพื่อควบคุมกองแร่และพื้นที่เก็บของเสีย

                       – รังวัดกองแร่

                       – การเก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนในบ่อกักเก็บหางแร่

                       – การตรวจจับความร้อนเพื่อตรวจหาการรั่วซึมของของเสีย

                       – เก็บภาพสำหรับสร้างโมเดลและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเชิงขนาด รูปร่าง และโครงสร้าง

                       – เก็บภาพสำหรับเปรียบเทียบปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการพังทลายของเขื่อน เช่น ระดับน้ำ

                    การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโดรนเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม

                       – การตรวจสอบการกัดเซาะ

                       – การตรวจสอบการกระจายตัวของสัตว์และพืช

                       – การใช้ข้อมูลรังวัดในการวางแผนการฟื้นฟูพื้นที่

                       – การใช้ภาพถ่ายตรวจสอบความคืบหน้าในการฟื้นฟูพื้นที่

                       – การใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดความเป็นกรดของน้ำจากการทำเหมือง

                    การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโดรนเพื่อการกู้ภัยและจัดการเหตุฉุกเฉิน

                       – การบินตรวจสอบพื้นที่อันตราย          

– การบินค้นหาผู้ประสบภัย

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published.