Knowledge Management : KM กองบริหารสิ่งแวดล้อม (กบส.) ปี พ.ศ. 2567

เรื่อง “ลดการปล่อย เพิ่มการดูดซับ ปรับไลฟ์สไตล์ มุ่งสู่ NET ZERO”

องค์ความรู้

ความรู้เบื้องต้น เครื่องมือและกลไกสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก
การลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจากการคาดการณ์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) พบว่า ในอีกกว่า 100 ปี ข้างหน้า พ.ศ. 2556-2656 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.1 – 6.4 องศาเซลเซียส ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความรุนแรง ที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในหลายสาขา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์พืช ชนิดพันธุ์สัตว์ การย้ายถิ่นฐานของประชากร และการแพร่กระจายของโรค
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงกลายเป็นปัญหาหลักและมีความท้าทายเป็นอย่างมากส่งผลให้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง สหประชาชาติจึงได้จัดตั้งกลไกหลักขึ้น ได้แก่ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change – UNFCCC) พ.ศ. 2535 โดยในปี พ.ศ. 2558 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ 195 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมลงนามรับรอง “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ประเทศต่าง ๆ มีเป้าหมายร่วมกันในการจำกัดอุณหภูมิของโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเชียส โดยมุ่งความพยายามที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ความตกลงปารีสกำหนดให้แต่ละประเทศจัดทำ “การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดขึ้น” (Nationally Determined Contribution : NDC)” จัดส่งทุก ๆ 5 ปี ภายหลัง พ.ศ. 2563 ที่แสดงถึงความพยายามสูงสุดของประเทศนั้น ๆ ในการจัดการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสะท้อนหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง คำนึงถึงศักยภาพและสถานการณ์ของประเทศที่แตกต่างกันประเทศไทยได้ให้สัตยาบันความตกลงปารีสในเดือนกันยายน 2559 และได้กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 20-25 จากกรณีปกติ (
Business as usual : BAU) ภายใน พ.ศ. 2573 ซึ่งต่อมาได้มีการพิจารณาปรับปรุงอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 เป็นข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (Thailand’s 2″d Updated NDC) โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมทุกสาขาเศรษฐกิจที่ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับกรณีการดำเนินงานปกติ (Business as Usual : BAU) ในปี พ.ศ. 2573 และหากได้รับการสนับสนุนทางการเงิน การเสริมสร้างศักยภาพ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีอาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 และมุ่งพยายามบรรจุเป้าหมายระยะยาวของความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายใน พ.ศ. 2608 นับจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 ประมาณ 140 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศหรือ อยู่ระหว่างการพิจารณาประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าชเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในช่วงปี พ.ศ. 2593-2613 ซึ่งครอบคลุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 90% ของโลก

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published.