กระบวนการการทำเหมืองแร่จะส่งผลกระทบต่อลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแร่เป็นมาตรการที่ถูกกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขแนบท้ายของใบอนุญาตประทานบัตร การฟื้นฟูพื้นที่เป็นหนึ่งในภารกิจงานของ กพร. เรื่องการยกระดับอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่และบริเวณโดยรอบเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เหมืองแม่น้ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช สวนสาธารณะ จังหวัดภูเก็ต สนามกอล์ฟ จังหวัดพังงา และอุทยานเขาหินงู จังหวัดราชบุรี
ขั้นตอนการดำเนินงานฟื้นฟูพื้นที่ฯ มีดังนี้
- พิจารณาพื้นที่ผ่านการทำเหมืองที่สิ้นอายุประทานบัตร
- ออกภาคสนามและสำรวจสภาพของพื้นที่โครงการ รวมทั้งเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำและดิน
- รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- รังหวัดจำทำแผนที่ภูมิประเทศและรังวัดสำรวจพื้นที่ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone)
- ออกแบบพื้นที่โครงการให้ปลอดภัยและเหมาะสม
- ปรับสภาพพื้นที่โครงการ และปลูกต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตามแผนงาน
- ติดตามบำรุง ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ในพื้นที่โครงการ รวมทั้งสำรวจความพึงพอใจหลังดำเนินโครงการ
ตัวอย่างการดำเนินงานฟื้นฟูพื้นที่ของ กพร. ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ประกอบการทำเหมืองแร่ให้มีการปรับสภาพและใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
- พื้นที่ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
คลิป VDO ▶️ การฟื้นฟูพื้นที่ผ่านการทำเหมืองแร่