กองกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม (กบว.) จัดกิจกรรม KM ในรูปแบบสานเสวนาออนไลน์เผยแพร่องค์ความรู้ เรื่อง “การบริหารจัดการแหล่งหินอุตสาหกรรมสำหรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่การพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” โดยมีการนำเสนอองค์ความรู้ที่น่าสนใจจากวิทยากรของ กบว. จำนวน 3 หัวข้อ ได้แก่
- สถานการณ์หินอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ในปี พ.ศ. 2565 โดยนายชาลี ประจักษ์วงศ์ วิศวกรเหมืองแร่ชำนาญการ
- การจัดการข้อมูลสำหรับการสำรวจด้วยโปรแกรม ArcGIS (อาร์ทจิสต์) โดยนางสาวดลนภา
ไพรโดรขน์ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ - การใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศในการประเมินปริมาณสำรองแหล่งหิน โดยอาจารย์สุทธิเทพ
รมยเวศม์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมร่วมตอบคำถามรับของรางวัลตลอดการเสวนา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 – 15.30 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM โดยมีบุคลากร กพร. ทั้งส่วนกลาง และ สรข. เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน
√ สถานการณ์หินอุตสาหกรรมในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปี พ.ศ. 2565 โดย นายชาลี ประจักษ์วงศ์ วิศวกรเหมืองแร่ชำนาญการ ได้นำเสนอเนื้อหาในรายละเอียดที่น่าสนใจโดยสรุปได้ดังนี้ ความเป็นมาของโครงการเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ความต้องการหินใช้หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC ปริมาณสำรองหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างคงเหลือจังหวัดในพื้นที่ EEC การคาดการณ์ว่าปริมาณสำรองหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างของจังหวัดในพื้นที่ EEC ทั้งหมดจะสามารถรองรับความต้องการใช้หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างได้อีกประมาณกี่ปี
สถาณการณ์หินอุตสาหกรรมในพื้นที่EEC พ.ศ. 2565
√ การจัดการข้อมูลสำหรับการสำรวจการสำรวจด้วยโปรแกรม ArcGIS โดย นางสาวดลนภา ไพรโรจน์ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ ได้นาเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ นิยามของเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System; GIS) คืออะไร องค์ประกอบและขั้นตอนการทำงานของระบบ GIS ขั้นตอนการสำรวจทางธรณีวิทยา และการหาปริมาณสำรองแร่ด้วยโปรแกรม ArcGIS
การจัดการข้อมูลสำหรับการสำรวจด้วยโปรแกรม ArcGIS
√ การใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศในการประเมินปริมาณสำรองแหล่งหิน โดย อาจารย์สุทธิเทพ รมยเวศม์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอรายละเอียดหลักการของการใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศในการประเมินปริมาณสำรองแหล่งหิน แหล่งที่มาของข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศดังกล่าว ขั้นตอนในการออกแบบบ่อเหมืองและประเมินปริมาณสำรองด้วยโปรแกรม Rhionceros
การใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศในการประเมินปริมาณสำรองแหล่งหิน
ซึ่งในวงเสวนาได้มีข้อเสนอในเรื่องของข้อมูลที่นำเข้าจากแหล่งต่าง ๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ (Drone/UAV) ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth หรือข้อมูลที่อาจจะสั่งซื้อมาจาก GISTDA ก็ตาม หากเป็นไปได้ควรจะนำมาเปรียบเทียบกันด้วย เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล