เรื่อง การร่อนแร่
องค์ความรู้
สรข.4 ภูเก็ต ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการจัดการความรู้ (KM) เพื่อพัฒนาองค์กร เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2567 บริเวณสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 4 ภูเก็ต ในหัวข้อ “การร่อนแร่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สรข.4 มีความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการแยกแร่ที่มีค่า เช่น แร่ดีบุก ออกจากดิน หิน และทราย ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทย โดยเฉพาะปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดระนอง และพังงา ยังมีชาวบ้านในพื้นที่ที่มีอาชีพร่อนแร่ เพื่อให้ได้แร่ดีบุกไปขาย
“เลียงร่อนแร่” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับร่อนแร่ ทำด้วยไม้เนื้อเหนียวและมีน้ำหนักเบา ตัวเลียงมีรูปทรงกลมก้นโค้งคล้ายกระทะแต่มีก้นที่ตื้นกว่า ขนาดของเลียงมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ ๗๐-๗๖ เซนติเมตร ท้องลึกประมาณ ๗-๘ เซนติเมตร วิธีใช้คือการนำไปร่อนในน้ำ แรงเหวี่ยงจะช่วยทำให้ส่วนที่หนักกว่าตกตะกอนที่ก้นเลียง สำหรับส่วนที่เบาก็จะถูกแกว่งออกไปตามรัศมีของเลียง
ภาพที่ 1 เลียงร่อนแร่
ในการแต่งแร่ดีบุกและเพื่อนแร่ดีบุกของ สรข.4 จะเริ่มขั้นตอนการแต่งแร่โดยการร่อนแร่ เพื่อแยกแร่ส่วนหนัก (ส่วนใหญ่จะเป็นเป็นแร่มีค่า) ออกจากส่วนเบา (ส่วนใหญ่จะเป็นทราย) ก่อนที่จะนำไปทำการแต่ง
โดยเครื่องแยกแร่แบบต่าง ๆ แล้วนำไปวิเคราะห์โดยการส่องกล้องดูแร่ (Binocular Microscope) เพื่อทำการนับเม็ดแร่ต่อไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่ สรข.4 จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับการร่อนแร่เป็นความรู้พื้นฐานในการขับเคลื่อนงาน ผอ.สรข.4 จึงได้มอบหมาย ก.สพท. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในกิจกรรมครั้งนี้ โดยมีเจ้าหน้า สรข.4 เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน
ภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรม